เขียนโดยเดวิด แชนด์เลอร์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยทำงานในกรุงพนมเปญ ช่วงปี 2503-2505 และสอนวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย
------------------------
พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2526 แต่ก็ได้ปรับปรุงมาเรื่อยในการพิมพ์ครั้งต่อๆมา นำมาแปลเป็นภาคภาษาไทยโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมี อ.เสน่ห์ จามริก เป็นประธาน
คณะแปลประกอบด้วยพรรณงาม เง่าธรรมสาร นักวิชาการอิสระ สดใส ขันติวรพงศ์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ และวงเดือน นาราสัจจ์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2540 มีพรรณงามเป็นบรรณาธิการ
คณะแปลประกอบด้วยพรรณงาม เง่าธรรมสาร นักวิชาการอิสระ สดใส ขันติวรพงศ์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ และวงเดือน นาราสัจจ์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2540 มีพรรณงามเป็นบรรณาธิการ
เนื้อหาเริ่มตั้งแต่ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคแรก ทั้งการรับวัฒนธรรมอินเดีย จนถึงเรื่องของรัฐบาลและสังคมกัมพูชาในขณะนั้น
เรื่องราวของกษัตริย์และสังคม ที่มีทั้งหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคเมืองพระนคร พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 กับการก่อตั้งอาณาจักรพระนคร และเรื่องราวของนครวัด บทที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรื่องราวของกัมพูชาหลังยุคเมืองพระนคร ซึ่งมีการย้ายเมืองไปยังพนมเปญ รวมไปถึงการแทรกแซงของไทยและเวียดนาม
เหตุการณ์ในช่วงที่ฝรั่งเศสเข้าไปมีอำนาจในกัมพูชาจนถึงการได้รับเอกราช เกิดการพัฒนาของพรรคการเมือง การเติบโตของฝ่ายซ้าย มีการเลือกตั้ง ความเสื่อมพระราชอำนาจของเจ้าสีหนุ เกิดรัฐประหารในปี 2513
เนื้อหาเกี่ยวกับปี 2520 ที่เวียดนามส่งทหาร 14 หน่วยเข้าสู่กัมพูชา การต่อสู้กันภายในกัมพูชา และการถอนตัวของเวียดนาม
เดวิด แชนด์เลอร์ บอกกล่าวไว้ในบทนำว่า นับแต่หนังสือประวัติศาสตร์กัมพูชา ซึ่งเขียนโดยเลอแคร์ เมื่อปี 2457แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีหนังสือประวัติศาสตร์กัมพูชาที่ให้รายละเอียดครบถ้วนออกมาอีกเลย
จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อปิดช่องว่างประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับเอเซียอาคเนย์ ซึ่ง "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" เล่มนี้ก็ได้ทำหน้าที่ดังที่ผู้เขียนหนังสือตั้งใจไว้
เป็นอย่างดี...
เนื้อหาเกี่ยวกับปี 2520 ที่เวียดนามส่งทหาร 14 หน่วยเข้าสู่กัมพูชา การต่อสู้กันภายในกัมพูชา และการถอนตัวของเวียดนาม
เดวิด แชนด์เลอร์ บอกกล่าวไว้ในบทนำว่า นับแต่หนังสือประวัติศาสตร์กัมพูชา ซึ่งเขียนโดยเลอแคร์ เมื่อปี 2457แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีหนังสือประวัติศาสตร์กัมพูชาที่ให้รายละเอียดครบถ้วนออกมาอีกเลย
จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อปิดช่องว่างประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับเอเซียอาคเนย์ ซึ่ง "ประวัติศาสตร์กัมพูชา" เล่มนี้ก็ได้ทำหน้าที่ดังที่ผู้เขียนหนังสือตั้งใจไว้
เป็นอย่างดี...
------------------------
หมายเหตุ - ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน คอลัมน์ รหัสหนังสือ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒